การอาชีวศึกษา จัดงาน “สุดยอดนวัตกรรมอาชีวศึกษา”

การอาชีวศึกษา จัดงาน “สุดยอดนวัตกรรมอาชีวศึกษา”

ว่าที่ร้อยตรีธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) ได้กล่าวตอนหนึ่งในการเป็นประธานการแถลงข่าว การจัดงานประกวด/ประเมินสิ่งประดิษฐ์ ของคนรุ่นใหม่ ระดับชาติ ประจำปีการศึกษา 2565 “สุดยอดนวัตกรรมอาชีวศึกษา” ว่า สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้กำหนดจัดงานการประกวด/ประเมินสิ่งประดิษฐ์ ของคนรุ่นใหม่ ระดับชาติ ประจำปีการศึกษา 2565 “สุดยอดนวัตกรรมอาชีวศึกษา” ในระหว่างวันที่ 10-12 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ ชั้น 5 ศูนย์การค้า เซียร์ รังสิต จ.ปทุมธานี

ว่าที่ร้อยตรีธนุ กล่าวต่อว่า การประกวด/ประเมินสิ่งประดิษฐ์ ของคนรุ่นใหม่ ระดับชาติ ประจำปีการศึกษา 2565 เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยมุ่งเน้นพัฒนาทักษะทางด้านกระบวนการวิจัย และทักษะทางด้านการใช้ความคิดสร้างสรรค์ของผู้ที่เรียนอาชีวศึกษา สอดคล้องตามนโยบายของศึกษาธิการ (ศธ.) คือการยกระดับคุณภาพการศึกษา เพื่อสร้างแรงกระตุ้น แรงบันดาลใจ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ประยุกต์ใช้องค์ความรู้ และความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในแต่ละสาขาวิชาที่เรียน และจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะ โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้ และทักษะการเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติจริง (Active Learning) ตลอดจนการเชื่อมโยงกับปัญหาหรือความต้องการในเชิงพื้นที่ (Area-based Learning) เพื่อพัฒนาต่อยอดเป็นนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์สู่การใช้ประโยชน์ในมิติต่างๆ ที่สามารถสร้างทั้ง “คุณค่า” ในระดับชุมชน สังคม และประเทศชาติ ตลอดจนขยายผล สู่การสร้าง “มูลค่า” ในเชิงพาณิชย์

“นับได้ว่าเป็นอีกหนึ่งเวทีสำคัญของผู้เรียนอาชีวะในการแสดงศักยภาพทางด้านความคิดสร้างสรรค์ของนักประดิษฐ์อาชีวศึกษาให้เป็นที่ประจักษ์ ให้สาธารณชนได้เห็นถึงพลังของคนรุ่นใหม่ และขอเชิญร่วมกันให้กำลังใจ ติดตามการประกวด/ประเมินสิ่งประดิษฐ์ ของคนรุ่นใหม่ ประจำปีการศึกษา 2565 “สุดยอดนวัตกรรมอาชีวศึกษา” ระดับชาติ ทั้งนี้ สื่อมวลชน นักเรียน นักศึกษา หรือผู้ที่สนใจ อยากสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ หรืออยากแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ร่วมพูดคุยกับนักประดิษฐ์อาชีวศึกษา สามารถมาเข้าร่วมชมงานได้” ว่าที่ร้อยตรีธนุ กล่าว

การอาชีวศึกษา จัดงาน “สุดยอดนวัตกรรมอาชีวศึกษา”

เลขาธิการ กอศ. ยังได้กล่าวต่อไปว่า การจัดงาน “สุดยอดนวัตกรรมอาชีวศึกษา” ระดับชาติ เป็นการคัดเลือกผลงานที่ผ่านการประกวด/ประเมิน จากสถานศึกษาทั่วประเทศ 5 ภาค ใน 6 ประเภท ได้แก่

ประเภทที่ 1 สิ่งประดิษฐ์ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีการเกษตรอุตสาหกรรมสมัยใหม่

ประเภทที่ 2 สิ่งประดิษฐ์ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลปัญญาประดิษฐ์

ประเภทที่ 3 สิ่งประดิษฐ์ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีพลังงานสิ่งแวดล้อม

ประเภทที่ 4 สิ่งประดิษฐ์ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีอาหาร

ประเภทที่ 5 สิ่งประดิษฐ์ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อสุขภาพ (HEALTH CARE)

ประเภทที่ 6 สิ่งประดิษฐ์ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์

ที่มีความโดดเด่นในด้านการใช้ความสามารถนำทักษะ คิดค้น วิจัย ต่อยอดองค์ความรู้ มาพัฒนาตอบโจทย์ในด้านต่างๆ ตอบสนองและเติมเต็มต่อปัญหาในมิติต่างๆ อีกทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว สถานศึกษา ชุมชน และสังคม จากผลงานทั้งสิ้นจำนวน 3,653 ผลงาน และมีผลงานเเพื่อข้าร่วมในระดับชาติ จำนวน 120 ผลงาน

ทั้งนี้ มีผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่เข้ารอบในระดับชาติ นำมาจัดแสดงในวันนี้ 12 ผลงาน ดังนี้

ประเภทที่ 1 สิ่งประดิษฐ์ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี การเกษตรอุตสาหกรรมสมัยใหม่ ชื่อสิ่งประดิษฐ์ มินิสมาร์ทฟาร์มกบ วิทยาลัยสารพัดช่างสุรินทร์

ประเภทที่ 2 สิ่งประดิษฐ์ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล ปัญญาประดิษฐ์ ชื่อสิ่งประดิษฐ์ ตู้รับซื้อขวดพลาสติกรีไซเคิลคัดแยกด้วยระบบ AI วิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนา เชียงใหม่

ประเภทที่ 3 สิ่งประดิษฐ์ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีพลังงาน สิ่งแวดล้อม ชื่อสิ่งประดิษฐ์ วาล์วน้ำอัตโนมัติด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ วิทยาลัยการอาชีพแม่น้ำแคว กาญจนบุรี

ประเภทที่ 4 สิ่งประดิษฐ์ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีอาหาร ชื่อสิ่งประดิษฐ์ นาซิดาแฆ รองแง็ง บาร์ วิทยาลัยอาชีวศึกษายะลา และไข่มุกป๊อปน้ำส้มโอพลังงานต่ำ Low Calories of Pop Pomelo Juice วิทยาลัยอาชีวศึกษานครปฐม

ประเภทที่ 5 สิ่งประดิษฐ์ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อสุขภาพ (HEALTH CARE) ชื่อสิ่งประดิษฐ์ ชุดสเกตบอร์ดมือบำบัดแขน วิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก และหุ่นยนต์ช่วยฝึกเดินสำหรับฟื้นฟูผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต วิทยาลัยเทคนิคฉะเชิงเทรา

ประเภทที่ 6 สิ่งประดิษฐ์ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ ชื่อสิ่งประดิษฐ์ อนุญาโตตุลาเกม ตอน สังเวียนมวย วิทยาลัยบริหารธุรกิจและการท่องเที่ยวกรุงเทพ , เข็มกลัดจากดิ้นโบราณ Brooch from Ancient Tinsel วิทยาลัยพณิชยการบางนา และ กล่องกันลืม (Smart Box) วิทยาลัยเทคนิคนครศรีธรรมราช

ทั้งนี้ยังมี ผลงานนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ด้านความปลอดภัย ชื่อสิ่งประดิษฐ์ อุปกรณ์ไม้ง่ามระงับเหตุ วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษกมหานคร

ผลงานรางวัล ระดับนานาชาติ ชื่อสิ่งประดิษฐ์ “หุ่นยนต์ช่วยฝึกเดินสำหรับผู้ป่วยอัมพฤต-อัมพาต” (Walking robot for rehabilitation of paralysis patient) วิทยาลัยเทคนิคฉะเชิงเทรา รางวัล Gold Prize จาก Korea Invention Promotion Association ซึ่งเป็นเหรียญทอง , รางวัลยอดเยี่ยมในการสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ และ Special Award จาก Taiwan Invention Association และรางวัลพิเศษสำหรับสิ่งประดิษฐ์ที่มีศักยภาพ จากงาน Seoul International Invention Fair 2022″ (SIIF2022)

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ apartmentscasalila.com

แทงบอล

Releated